เทคนิคการดูแลรักษา สินค้าอุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์ผู้ป่วย ที่ผลิตด้วย สเตนเลส

เนื้อหาต่อจากนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ผลิตจากสแตนเลสเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นความรู้ใหม่ๆ บางส่วนที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดและ เทคนิคการดูแลรักษา อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทำด้วยสแตนเลสอย่างถูกต้อง นำไปใช้ทางการแพทย์ และอาจจะช่วยในส่วนอื่นๆ ได้บ้างครับ

จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะผลิตจากสแตนเลส หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไหมต้องเป็นสแตนเลส เพราะสแตนเลสจะให้ประโยชน์ และเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ให้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้มาก ไม่ว่าจะเป็น ด้านความทนทาน ความสวยงาม มีความต้านทานหลายๆ ด้าน และที่สำคัญให้ความปลอดภัยและถูกหลักอนามัย นั้นจะเป็นเหตุผลที่ใช้สแตนเลสครับ

แต่ขณะเดียวกันการไม่ใสใจในการดูแล ก็ทำให้สแตนเลสเสียหายได้เหมือนกันครับ แล้วยิ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ผู้ป่วย จำเป็นต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เรามีเทคนิคดีๆมาฝากครับ เทคนิคดูแลรักษา สินค้าอุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์ผู้ป่วย ที่ผลิตด้วยสเตนเลส จะมีการดูแลรักษาอะไรบ้าง

เทคนิคการดูแลรักษา อุปกรณ์ทางการแพทย์

1.สแตนเลส คืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับสแตนเลสกันก่อนน่ะครับ จะมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เกิดขึ้นในช่วงไหน

สแตนเลส จากเรียกอีกชื่อว่า เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% ซึ่งกำเนินขึ้นในปี พ.ศ.1903 ในช่วงนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า การเติมนิเกิล ไนโอเนียม ไททาเนียม โมบิดินัม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้

ด้วยคุณสมบัติของสแตนเลส มีความทนทานต่อการกัดกร่อน มีความแข็งแรง ความสวยงามและอื่นๆ ปัจจุบันเริ่มประยุกต์ใช้สแตนเลสกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการแพทย์ ได้แก่ อุปกรณ์แพทย์ และอุปกรณ์ผู้ป่วย เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นสแตนเลส เช่น บรรไดขึ้นเตียง เตียง ตู้ และอื่นๆ อีกมากมาย

2.สแตนเลสใช้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์

ส่วนประกอบสแตนเลสในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำจากโครเมียม 18% และนิกเกิล 10% เพื่อมีความแข็งแรง และทนทานต่อการกัดกร่อน โดยที่ไม่มีการตกตะกอนโลหะไอออน สแตนเลสชนิดนี้จะถูกเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม 18-10 ซึ่งมาจากความทนทานและความสมบูรณ์แบบ จึงในเป็นหลักในการผลิตเครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้บนโตะอาหาร และอื่นๆ อีกมากเลยครับ

3.เทคนิคการดูแลรักษา อุปกรณ์สแตนเลส

จริงอยู่ว่าสแตนเลส จะมีลักษณะที่แข็งแรง และทนทานต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตามเราก็ควรทำความสะอาดเป็นระยะๆ เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ในการดูแลรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ผู้ป่วย เช่น เตียง ตู้ เสาน้ำเกลือ ฯลฯ จะได้ใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น และเพื่อป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ระยะเวลาที่เหมาะในการทำความสะอาดขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ ด้วยครับ วิธีการดูแลอุปกรณ์การแพทย์ จะดังนี้

  • หากไม่ได้ใช้งาน หรือใช้งานเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดทันนที
  • ก่อนเริ่มทำความสะอาดในส่วนต่างๆ อยากให้ทดสอบดูก่อนว่าผลลัพท์เป็นอย่างไร โดยเริ่มทำความสะอาดบริเวณเล็กๆ ก่อน หากผลลัพท์ออกมาดี ค่อยเริ่มทำสะอาดส่วนต่างๆได้ครับ
  • กรณีจะทำความสะอาดความมัน หรือน้ำมัน ให้ใช้น้ำอุ่นเพื่อช่วยขจัดความมันออกได้ แล้วค่อยมาล้างน้ำสะอาดอีก แล้วนำผ้ามาเช็ด
  • หากเกิดรอยเปื้อนที่อยู่บริเวณอุปกรณ์สแตนเลส ควรทำความสะอาดทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการกัดกร่อนบริเวณอุปกรณ์การแพทย์ หรืออุปกรณ์ของผู้ป่วย

4.วิธีทำความสะอาดรอยเปื้อนสแตนเลส

การทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ของผู้ป่วยเป็นสิ่งต้องทำเป็นประจำ จริงอยู่ว่าอุปกรณ์ที่ผลิตจากสแตนเลส โอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้นเลย หากสิ่งสกปรก หรือรอยเปื้อนชนิดต่างๆ มาเกาะบริเวณที่เป็นสแตนเลสจำนวนมาก หรือไม่ทำความสะอาดเลย ปล่อยแบบนี้นานๆ โอกาสที่เกิดรอยการกัดกร่อนได้ไม่ยากเลยครับ ดังนั้นไม่ควรปล่อยซะอย่างนั้น หากมีรอยเปื้อนอยู่ หรือใช้งานเสร็จ ก็ควรที่จะทำความสะอาดทันทีเลยครับ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จะได้ใช้อุปกรณ์ทั้งการแพทย์และผู้ป่วยได้นานยิ่งขึ้น และมีความสะอาด ปลอดภัยอีกด้วยครับ

การขจัดรอยเปื้อนชนิดต่างๆ ได้ง่ายๆ ทำได้เองดังนี้

  • รอยเปื้อน น้ำมันและจาระบี : ให้เรานำสารทำลายอินทรีย์ ประเภทไฮโดร์คาร์บอน เช่น แอลกอฮอล์ นำมาล้างบริเวณที่เป็นรอยเปื้อน ล้างออกด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอกอย่างเบาๆ จากนั้นล้างด้วยน้ำเย็นอีกครั้งให้สะอาด ต่อด้วยนำผ้าสะอาดๆ มาเช็ดให้แห้ง ปล่อยทิ้งไว้สักพัก จะช่วยล้างรอยเปื้อนได้ง่ายๆ ขึ้นครับ
  • รอยเปื้อน สี : สำหรับสีที่เกาะตามสแตนเลส ให้นำแปรงไนลอนชนิดนุ่ม ขัดออกเบาๆ ตามด้วยล้างออกด้วยน้ำเย็นแล้วเช็ดให้แห้ง
  • รอยเปื้อน เขม่าหรือคราบอาหาร : หากมีคราบอาหารบริเวณสแตนเลส ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียเช็ด และล้างด้วยน้ำเย็น จากนั้นนำผ้าให้เช็ดให้แห้ง
  • รอยเปื้อน คราบสนิม : กรณีที่เกิดคราบสนิมบริเวณสแตนเลส ให้แช่ส่วนนั้นในน้ำอุ่นผสมด้วยสารละลายกรดไนตริกในสัดส่วน 9:1 เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรืออาจใช้วิธีทาพื้นผิวที่เกิดสนิม ด้วยสารกรดออกซาลิก จากนั้นให้ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้งด้วยผ้า หากเกิดกรณีที่คราบยังติดทนอยู่นั้น ขจัดออกได้ยาก อาจต้องใช้เครื่องจักรช่วยขัดทำความสะอาด แต่อยากให้ลองวิธีแรกก่อนน่ะครับ แล้วค่อยใช้เครื่องจักรหากเกิดกรณีดังกล่าว
  • รอยเปื้อน ฉลากและสติ๊กเกอร์ : หากเกิดบริเวณสแตนเลส ให้แช่ หรือใช้การถูด้วยน้ำสบู่ร้อน ก่อนจะลอกฉลากให้ทำความสะอาดกาวที่ติดอยู่ออก ด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ หรือใช้น้ำมันเบนซิน จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสบู่ อาจจะใช้ผสมผงซักฟอก หลังจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำร้อน แล้วนำผ้าเช็ดให้แห้ง
  • การเปลี่ยนสีอันเกิดจากความร้อน : เกิดตามบริเวณสแตนเลส ให้ใช้แผ่นขัดทำความสะอาดที่ไม่ใช้กับโลหะ และน้ำยาที่ไม่กัดกร่อนผิว เช่น บรัสโซ ขัดรอยด่างออก โดยขัดไปในทิศทางเดียวกัน กับลักษณะการเคลือบผิววัสดุล้างออกด้วยน้ำเย็น จากนั้นเช็ดให้แห้ง
  • รอยเปื้อน สารแทนนินจากชาหรือกาแฟ : ให้ล้างด้วยน้ำร้อนผสมโซดาซักผ้า(โซเดียมไบคาร์บอเนต) หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำผสมผงซักฟอก และล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำร้อนให้แห้งด้วยผ้าเนื้อนุ่ม

5.ข้อควรระวังของสแตนเลส

นอกจากการทำความสะอาด และการดูแลรักษา ที่มีความสำคัญแล้ว แต่ยังมีหนึ่งสิ่ง ที่คุณเองต้องทำความเข้าใจไว้บ้างนั้นคือ ข้อควรระวังของสแตนเลส เพราะบ้างส่วน จะเป็นต้นเหตุของการเกิดรอยเปื้อนบริเวณสแตนเลส ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลังได้ครับ สิ่งที่ผมจะแนะนำนี้ สแตนเลสจะไม่ชอบเลยครับ คุณเองก็ควรระวังไว้บ้างน่ะครับ ยิ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ของผู้ป่วย ยิ่งต้องให้ความสำคัญ เพราะต้องใช้ประโยชน์ในระยะยาว และจำเป็นในการใช้งานอยู่ตลอดเวลาครับ

  1. ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ มาทำความสะอาดรอยเปื้อนบริเวณสแตนเลส
  2. ห้ามใช้ปริมาณสบู่ หรือผงซักฟอกมากเกินไป ในการทำความสะอาด อาจทิ้งรอยคราบไว้บนพื้นผิวสแตนเลสได้ง่ายครับ
  3. อย่าเคลือบขี้ผึ้งบริเวณสแตนเลส หรือสารที่มีความมัน จะทำให้รอยเปื้อนติดบนพื้นสแตนเลสได้ง่ายขึ้น แล้วจะทำความสะอาดได้ยากกว่าเดิม
  4. การทำความสะอาด ไม่ควรที่ทำส่วนที่เกิดรอยเปื้อนเพียงส่วนเดียว เพราะจะทำให้ส่วนอื่นๆ ของสแตนเลส จะติดรอยเปื้อนของส่วนที่เราทำความสะอาดก่อนหน้านี้
  5. หากคุณยังไม่มั่นใจผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่าพึ่งใช้ เว้นแต่มีคนให้คำแนะนำดีๆ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดสแตนเลสโดยเฉพาะ
  6. ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ส่วนผสมของคลอไรด์ หรือเอไลด์ อย่างเช่น โบรไมน์ ไอโอดีนและฟลูออรีน อย่างเด็ดขาด
  7. ห้ามใช้กรดไฮโดรคลอริค ในการทำความสะอาด จะเกิดการกัดกร่อนสแตนเลส ซึ่งจะทำความเสียหายในภายหลังได้ครับ

6.สรุป

การทำความสะอาด และการดูแลรักษาอุปกรณ์เป็นเรื่องที่ ต้องให้ความสำคัญ ยิ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ของผู้ป่วย ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องรักษาความสะอาด และการดูแลรักษา เพราะอุปกรณ์มีการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่ผมได้เตรียมเอาไว้ ทั้งการทำความสะอาดอุปกรณ์ เทคนิคการดูแลรักษา และข้อควรระวังของสแตนเลส ที่มีความเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ด้านการแพทย์หลายๆ ชนิดด้วยกัน หวังว่าเนื้อหาที่ผมได้เตรียมไว้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณได้น่ะครับ อยากให้ลองปรับความเข้าใจ และทำตามดูน่ะครับ เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้นานยิ่งขึ้น

ประชาสัมพันธ์

สำหรับลูกค้าท่านใดสนใจสั่งจอง หรือสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ สินค้าสำหรับผู้ป่วยทุกชนิด สามารถสั่งตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการสั่งซื้อ

  • 1. สั่งทางหน้าเว็ป Siritorn หรือ ทางline@ @ ทางร้านเพื่อสอบถามข้อมูลสินค้า
  • 2. ลูกค้าชำระเงินตามราคาสินค้า หรือตามจำนวนที่ทางร้านได้แจ้งให้ทราบ
  • 3. ของที่ไม่ต้องสั่งผลิตจะเริ่มทำการจัดส่งให้วันถนัดไปหลังจากทำการชำระเงิน
  • 4.ส่วนในกรณีเป็นรายการสินค้าสั่งผลิต ลูกค้าจะต้องมัดจำค่าสินค้าก่อน 50% ของราคาสินค้าเพื่อยืนยันการผลิตค่ะ
  • 5. ทางร้านจะส่งเลขที่แทรค(Tracking Number)สินค้า หรือสถานะสินค้า ให้กับทางลูกค้าค่ะ

สินค้าที่ไกล้เคียง


หน้าแรก

สินค้า

ไลน์

ติดต่อเรา